วัดไทยพุทธคยา รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย......วัดแห่งแรกแห่งความภาคภูมิใจ |
||||||||||||
.อันเดียจัดงานฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ เรียกว่า "พุทธชยันตี" เมื่อพุทธศักราช ๒๕๐๐ เป็นเวลาที่ตรงกับพุทธศักราช ๒๔๙๙ ของชาวไทย เพราะพุทธศักราชไทยและอินเดียต่างกันอยู่ ๑ ปี รัฐบาลอินเดียเตรียมงานฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษไว้ล่วงหน้าก่อนพุทธศักราช ๒๕๐๐ หลายประการ ได้แก่ บูรณปฏิสังขรณ์ทำนุบำรุงสังเวชนียสถาน ๔ แห่ง และสถานที่สำคัญที่เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธศาสนาในอินเดียทุกแห่งอย่างจริงจัง สร้างที่พักสำหรับรองรับผู้มาจาริกแสวงบุญทุกแห่ง เพื่ออำนวยความสะดวกแก่พุทธศาสนิกชนจากทุกหนแห่งที่มีศรัทธาเดินทางมาสักการะพุทธสถานในโอกาสสำคัญนี้ ในเวลาเดียวกันก็ส่งสาส์นเชิญชวนบรรดาประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาร่วมกันเฉลิมฉลองโดยการสร้างวัดในดินแดนพุทธภูมิเพื่อน้อมถวายเป็นพุทธบูชาด้วย รัฐบาลไทยได้รับการเชื้อเชิญให้ไปสร้างวัดในอินเดีย เมื่อต้นพุทธศักราช ๒๔๙๙ ในปีที่อินเดียกำลังจัดงานพุทธชยันตีอย่างปลื้มปีติ โดยประสานความเข้าใจอันดีระหว่างกันผ่านทางสถานทูต ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ทรงเสียสละอย่างสูงเมื่อทรงค้นพบ "สัจธรรม" แล้ว ทรงประทานแก่ชาวโลกโดยมิได้หวงแหนไว้เฉพาะชนชาวภารตะเท่านั้น มวลหมู่ประชาชาติทุกมุมโลกต่างได้รับการอบรมบ่มธรรมให้พบด้วงปัญญาที่ทำให้ชีวิตศานติสุข ทรงสอนมิให้งมงายต่อสิ่งทั้งปวงของโลก ให้รู้เท่าทันต่อสภาวะทั้งมวลของโลกอย่างถ่องแท้ พระคุณแห่งพระโมคคัลลีบุตรติสสเถระและพระเจ้าอโศกมหาราชมหาราชาธิบดีแห่งอินเดีย ในยุคถัดต่อพุทธกาล เมื่อประมาณพุทธศักราช ๒๓๖ ที่ทรงมอบหมายให้พระมหาเถระคือพระโสณเถระ และพระอุตตรเถระพร้อมด้วยคณะพุทธบริษัทที่สามารถทำสังฆกรรมได้ มาประกาศพระพุทธศาสนาในดินแดนสุวรรณภูมิ ณ พระปฐมเจดีย์ อันเป็นจุดเริ่มต้นบนผืนแผ่นดินไทยทุกวันนี้ พระรัตนตรัย คือ มรดกอันล้ำค่า นับแต่นั้นมาพระมหากรุณาธิคุณอันสูงยิ่งนี้พุทธบริษัทในแผ่นดินทั้งมวลต่างเทิดพระคุณไว้ตราบนิรันดร ด้วยเหตุนี้ รัฐบาลไทยตระหนักว่า แม้ประเทศไทยจะเป็นประเทศเล็กพลเมือง เมื่อพุทธศักราช ๒๕๐๐ มีเพียง ๓๐ ล้านคน ก็รับมรดกอันล้ำค่าคือ "พระพุทธศาสนา" ไว้เป็นศาสนาประจำชาติ มีวัดวาอารามทางพระพุทธศาสนากว่า ๒๐,๐๐๐ วัด มีพระสงฆ์ในระหว่างพรรษากว่า ๒๐๐,๐๐๐ รูป กฎมณเทียรบาลและรัฐธรรมนูญของแผ่นดินไทยตราไว้ชัดเจนว่า "องค์พระประมุขของชาตินั้นจักต้องทรงเป็นพุทธมามกะ"อัธยาศัยของชาวไทยได้รับการกล่าวขวัญจากชาวต่างประเทศว่า "สยามเมืองยิ้ม" บ้าง "ประเทศแห่งความเมตตาปราณี" บ้าง เพราะเหตุแห่งคุณธรรมอันล้ำเลิศของพุทธองค์ที่อาบย้อมจิตใจตลอดมาล้วนแต่เป็นสัญลักษณ์แห่งคุณธรรมที่สูงส่งของพระพุทธศาสนาทั้งสิ้น พุทธศักราช ๒๕๐๐ รัฐบาลไทยตอบรับคำเชิญชวนของรัฐบาลอินเดียในการที่จะสร้างวัดไทยในอินเดีย ณ สถานที่ตรัสรู้ คือ พุทธคยาเป็นอันดับแรกด้วยเหตุผล ๓ ประการ คือ ๑. ประเทศอินเดียเป็นสถานที่กำเนิดของพระพุทธศาสนา ๒. ประเทศอินเดียมีประชาชนยังคงนับถือพระพุทธศาสนาเพียง ๑๘๑,๒๖๘ คน คิดเป็นอัตราส่วน ๐.๐๖ เปอร์เซ้นต์ ต่อประชากรทั้งประเทศ ๓. ประเทศอินเดีย เป็นประเทศที่ชาวพุทธไทยควรได้สนองพระคุณน้อมเป็นพุทธบูชา โดยจัดพระสงฆ์ "ปัญจวรรค" เป็นอย่างน้อยมาบำเพ็ญสมณกิจอยู่ประจำ รัฐบาลจึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการก่อสร้างวัดไทยพุทธคยาขึ้นดำเนินการ สถานที่สร้างวัดไทยพุทธคยา .....คณะกรรมการก่อสร้างวัดไทยพุทธคยา มี พลเอก หลวงสวัสดิ์ สรยุทธ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (กระทรวงวัฒนธรรมในรัฐบาลสมัยจอมพลป. พิบูลสงคราม) เป็นประธานได้รับการ รายงานจากนายบุณย์ เจริญไชย เอกอัครราชทูตไทย ประจำกรุงเดลฮี ประเทศอินเดียขณะนั้นว่า สถานที่สร้างวัดไทย ควรจัดสร้างที่พุทธคยา จังหวัดคยา แคว้นพิหาร เป็นสถานที่พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้ ซึ่งเป็นที่กำหนดแน่นอนว่า "พระพุทธศาสนาอุบัติขึ้น ณ พุทธคยา"นี้ และชาวอินเดียทั้งมวลอีกว่า "พุทธคยาคือศูนย์กลางแห่งพุทธศาสนา" ขณะนั้นมีวัดชาวพุทธในเครือประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาสร้างขึ้นใกล้เคียงโดยรอบมหาวิหารพุทธคยา โดยศรัทธาของประชาชน คือ วัดศรีลังกา หรือมหาโพธิสมาคม วัดพม่า วัดจีน วัดทิเบต วัดพีร์ลาลักษณะอย่างธรรมศาลา ..............การจัดหาที่ดินสร้างวัด ฝ่ายอินเดียเสนอที่ดินให้รัฐบาลไทยเลือก ๓ แปลง ซึ่งอยู่ไม่ห่างไกลจากมหาวิหารพุทธคยา การเลือกที่ดินครั้งที่ ๑นายฟุ้ง ศรีวิจาร์ อธิบดีกรมการศาสนา เลือกที่ดินแปลงที่อยู่ทางทิศตะวันตกของเจดีย์พุทธคยาประมาณ ๒๐๐ เมตร เนื้อที่ ๓.๙๒ เอเคอร์ใกล้กับวัดทิเบต ครั้นเมื่อวางผังและเริ่มก่อสร้างในปลายพุทธศักราช ๒๕๐๐ เกิดปัญหาขัดข้องต้องระงับการก่อสร้างและย้ายไปหาที่แห่งใหม่ การเลือกที่ดินครั้งที่ ๒ ความยุ่งยากในการก่อสร้าง นายฟุ้ง ศรีวิจารณ์ อธิบดีกรมการศาสนา เขียนเล่าไว้ในเรื่อง "ส่วนสูงเป็นเหตุ" หนังสือในงานพระราชทานเพลิงศพของท่านเมื่อพุทธศักราช ๒๕๓๓ ที่ดินแปลงใหม่มีเนื้อที่ ๔.๕๗ เอเคอร์ เท่ากับ ๑๑ ไร่เศษ ตั้งอยู่สุดเนินดินทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ขององค์เจดีย์พุทธคยาประมาณ ๔๐๐ เมตร ใช้เวลาเดินอย่างสมณะประมาณ ๔ นาที หน้าวัดติดถนนหลวงสายมใหม่จากเมืองคยาถึงพุทธคยา ๑๒ ไมล์ หรือ ๑๕ กม. ถ้าระยะทางเส้นเดิมเลาะริมแม่น้ำเนรัญชรา ๗ ไมล์ หรือ ๑๒ กม. พื้นที่เป็นรูปสีเหลี่ยมผืนผ้า ซึ่งเหมาะแก่การวางผังบริเวณได้งดงาม สิ่งแวดล้อมโดยรอบเป็นทุ่งนา แลดูเขียวชอุ่มสดชื่นในฤดูวสันต์และเหมันต์อย่างยิ่ง |
||||||||||||
คัดลอกจากหนังสือ "๕๐ ปี วัดไทยพุทธคยา อินเดีย"จัดพิมพ์เผยแพร่ พุทธศักราช ๒๕๕๐ |
||||||||||||
-การสร้างวัดไทยแห่งแรกในต่างประเทศ | ||||||||||||
-สิ่งก่อสร้างสมัยแรก | ||||||||||||
-พระธรรมทูตยุคบุกเบิก | ||||||||||||
-พระธรรมทูตกับการทำงาน | ||||||||||||
-ลำดับเจ้าอาวาสและหัวหน้าพระธรรมทูต | ||||||||||||
-ลำดับเจ้าอาวาสและหัวหน้าพระธรรมทูต | ||||||||||||
-บทบาทพระธรรมทูตกับชาวพุทธไทย | ||||||||||||
-งานศาสนสัมพันธ์กับวัดนานาชาติ | ||||||||||||
-การบูรณปฏิสังขรณ์ | ||||||||||||
-ศาสนสถานภายในวัด | ||||||||||||
การบริหารวัดไทยในพุทธคยา |
||||||||||||
อาวาสสถาน |
ทิวทัศน์ |
บริเวณงดงาม |
||||||||||
การศึกษา | ||||||||||||
ศาสนสงเคราะห์ | ||||||||||||
การเผยแผ่ | ||||||||||||
สาธารณูปการ | ||||||||||||
การปกครอง | ||||||||||||
วัดในปกครอง | ||||||||||||
|
||||||||||||
อาวาสสถาน |
ทิวทัศน์ |
บริเวณงดงาม |
||||||||||
การศึกษา | ศาสนสงเคราะห์ | |||||||||||
การเผยแผ่ | สาธารณูปการ | |||||||||||
การปกครอง |
วัดในปกครอง | |||||||||||